โครงการการนำผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) การประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) และการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ไปวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อ ๑) ให้โรงเรียนนำผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) การประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) และการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ไปวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒) เพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเลิศของ สพป.อุตรดิตถ์ เขต ๑ โดยกลุ่มเป้าหมายการพัฒนา คือ โรงเรียนในสังกัดสพป.อุตรดิตถ์ เขต ๑ จำนวน ๑๓๖ โรงเรียน    

การดำเนินการการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) การประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) และการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ไปวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา คือการส่งเอกสารคู่มือ และแบบฟอร์มในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้กับโรงเรียนในสังกัดจำนวน ๑๓๖ โรงเรียน โดยโครงการการนำผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) การประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) และการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ไปวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แบ่งออกเป็น ๓ ระยะ ระยะที่ ๑ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับโรงเรียนในสังกัด จำนวน ๑๓๖ โรงเรียนและมีผู้เข้าอบรมโรงเรียนละ ๑ คน รวมผู้เข้าอบรม จำนวน ๑๓๖ คน ระยะที่ ๒ โรงเรียนจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ และจัดส่งแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต ๑  จำนวน ๒๒๔ แผน เพื่อคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับดีเยี่ยมมานำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในระยะที่ ๓ จำนวน ๓๓ แผน ระยะที่ ๓ การประเมินจากการนำเสนอแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มีผลการประเมินเอกสาร มีโรงเรียนที่มีผลการประเมินแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับดีเยี่ยม จำนวน ๓๓ แผน วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมเหล็กน้ำพี้ และห้องประชุมภูสอยดาว โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต ๑ มีโรงเรียนต้นแบบในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จำนวน ๑๑ แผน ในการดำเนินโครงการนั้น มีขั้นตอนดำเนินการการจัดประชุมวางแผน  ดำเนินการตามแผนที่วางไว้  การติดตาม  และการสรุปผลรายงานและผลการดำเนินการโครงการสรุปได้ สรุปผลการประเมินตามวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และสำเร็จลุล่วงด้วยดี แบ่งการประเมินผลได้ ๓ ระยะ ดังนี้ ผลการประเมินระยะที่ ๑ จากการสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน ๑๓๓ คน พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๔.๖๙ เมื่อพิจารณารายข้อซึ่งเรียงลำดับของความพึงพอใจจากมากที่สุด ดังนี้ 

หัวข้อที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ วิทยากรมีการให้ความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = ๔.๗๙, S.D. = ๐.๔๑) รองลงมาคือ วิทยากรมีการตอบประเด็นข้อสงสัย ได้อย่างครบถ้วนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = ๔.๗๙,  S.D. =๐.๔๓) รองลงมาคือ ระยะเวลาในการจัดประชุมมีความเหมาะสม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = ๔.๙๓,  S.D. =๐.๔๙) และหัวข้อที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ท่านคิดว่าท่านมีความพร้อมในการนำความรู้ที่ได้รับไปขยายผลให้กับครูในสถานศึกษาของท่าน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = ๔.๕๔,  S.D. =๐.๕๗)

ผลการประเมินระยะที่ ๒ และระยะที่ ๓ จากการสอบถามความความคิดเห็นคณะกรรมการตัดสินผลงานที่มีต่อการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามผลการประเมินระดับชาติของสถานศึกษา จำนวน ๗ คน พบว่า คณะกรรมการตัดสินผลงานมีข้อเสนอแนะและจุดที่ควรพัฒนามากที่สุด ได้แก่ การเขียนอธิบายผลการวิเคราะห์การประเมิน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๒.๘๖  (x̄ = ๒.๘๖, S.D. = ๐.๓๘) รองลงมาคือ รูปแบบการเขียนแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามผลการประเมินระดับชาติ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๒.๗๑ (x̄ = ๒.๗๑,  S.D. =๐.๔๙) รองลงมาคือ การกำหนดหัวข้อของนวัตกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามผลการประเมินระดับชาติ (x̄ = ๒.๕๗,  S.D. =๐.๕๓) และหัวข้อที่ควรพัฒนาน้อยที่สุดคือ การเขียนข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๑.๒๙  (x̄ = ๑.๒๙,  S.D. =๐.๔๙)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You missed