...ช่องทางการแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจคิตและประพฤติมิชอบ   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1...

ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียน
การทุจริตและประพฤติมิชอบ

                     .............................
ช่องทางที่ 1
.. จดหมายทางไปรษณีย์ ส่งไปที่...
   > ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน
      สพป.อุตรดิตถ์ เขต 1 
      เลขที่ 91/7 หมู 3 ถนนพาดวารี
      ต.ป่าเซ่า อ.เมือง
      จ.อุตรดิตถ์ 53000

ช่องทางที่ 2 > ทางโทรศัพท์ 055-817764
                         ทางโทรสาร 055-817759

ช่องทางที่ 3 >  ทางอีเมล์
                          utdpesao1@gmail.com

ช่องทางที่ 4 >  ตู้รับเรื่องร้องเรียน
ช่องทางที่ 5 >  ติดต่อด้วยตนเองที่
                          กลุ่มกฎหมายและคดี
                          หรือ ผอ.สพป.อต.1



* รายงานผลการร้องเรียนการทุจริต
   และ ประพฤติมิชอบ


..ปีงบประมาณ 2564
..ตุลาคม 2563 - 30 มิถุนายน 2564
..รอบ 9 เดือน
..ไม่มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับ
  การทุจริตและประพฤติมิชอบ

การใช้งาน "ช่องทางการแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ"

   
กำหนดผู้ใช้งานต้องมีอีเมล์ (Gmail) เป็นของตนเอง  เพื่อล็อกอินเข้าสู่ระบบ
   ก่อนดำเนินการเข้าสู่ระบบการร้องเรียนผู้ยื่นคำร้องระบบออนไลน์ ควรมีข้อมูลเบื้องต้น ดังนี้...


1. ชื่อ-สกุล ที่ถูกต้องชัดเจน
2. ที่อยู่ ตำบล อำเภอ จังหวัด
3. เบอร์โทรศัพท์ (ที่ใช้งานได้จริง)
4. EMail (ที่ใช้งานได้จริง)
5. คลิก เข้าสู่ระบบได้ที่ Link " ระบบการร้องเรียนแบบออนไลน์ "


ระบบติดตามเรื่องร้องเรียน

1. คลิกเข้าสู่ระบบการร้องเรียน คลายทุกข์
2. เมื่อระบบรับเรื่องแล้ว จะดำเนินการแจ้งผู้บริหาร เพื่อมอบหมายให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการ
    ตามขั้นตอน
3. หลังจากรับเรื่องฯ แล้ว สพป.อุตรดิตถ์ เขต 1 จะแจ้งให้ผู้ร้องเรียน ทราบทางอีเมล์ของ
    ผู้ร้องเรียน
 * โดยตอบกลับทาง E-Mail ของผู้ร้องเรียน.....

หลักเกณฑ์ ข้อกำหนดในการรับเรื่องร้องเรียน ของ สพป.อุตรดิตถ์ เขต 1

       1. ใช้ถ้อยคำหรือข้อความที่สุภาพ และต้องประกอบด้วย
           -   วัน เดือน ปี
           -   ชื่อ-สกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมลที่สามารถติดต่อถึงผู้แจ้งความประสงค์ได้
           -   ข้อเท็จจริง หรือ พฤติการณ์ของเรื่องที่ร้องเรียนได้อย่างชัดเจนว่าได้รับความ
                เดือดร้อนหรือ เสียหาย ต้องการให้แก้ไข ดำเนินการอย่างไร หรือชี้ช่องทางแจ้ง
                เบาะแสเกี่ยวกับเกี่ยวกับการทุจริตชัดแจ้งเพียงพอ ที่สามารถดำเนินการตรวจสอบ
                ข้อเท็จจริงสืบสวนได้
            -   ระบุ พยาน เอกสาร พยานวัตถุ และพยานบุคคล (ถ้ามี)
          2. ข้อร้องเรียนต้องเป็นเรื่องจริงที่มีมูลเหตุ มิได้หวังสร้างกระแสหรือสร้างข่าว
              ที่เสียหายต่อบุคคลอื่น หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
          3. การใช้บริการร้องเรียนนั้น ต้องสามารถติดต่อกลับไปได้ เพื่อยืนยันว่ามีตัวตนจริง
              ไม่ได้สร้างเรื่อง เพื่อกล่าวหาบุคคลอื่นหรือหน่วยงานต่างๆ ให้เกิดความเสียหาย
          4. เป็นเรื่องที่ผู้ร้องเรียนได้รับความเดือนร้อน หรือเสียหาย อันเนื่องมาจากการปฏิบัติ
              หน้าที่ต่างๆ ของเจ้าหน้าที่สำนักงานหรือหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงาน
          5. เป็นเรื่องที่ประสงค์ขอให้สำนักงานช่วยเหลือหรือขจัดความเดือดร้อนในด้าน
              ที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบหรือภารกิจของสำนักงานโดยตรง
          6. ข้อร้องเรียนที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่เพียงพอ หรือไม่สามารถหาข้อมูล เพิ่มเติมได้
              ในการดำเนินการตรวจสอบ สืบสวนสอบสวน ข้อเท็จจริงตามรายละเอียดที่กล่าวมา
              ในข้อที่ 1 นั้น ให้ยุติเรื่องและเก็บเป็น ข้อมูลในระบบฐานข้อมูล
          7. ผู้ร้องเรียน เป็นผู้แจ้งความประสงค์ด้วยตนเอง จะร้องเรียนแทนผู้อื่นไม่ได้
          8. ไม่เป็นข้อร้องเรียนที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้
               -  ข้อร้องเรียนที่เป็นบัตรสนเท่ห์ เว้นแต่บัตรสนเท่ห์นั้นจะระบุรายละเอียดตาม
                  ข้อที่ 1 จึงจะรับไว้ พิจารณาเป็นการเฉพาะเรื่อง
               -  ข้อร้องเรียนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว หรือเป็นเรื่องที่ศาลได้มี
                  คำพิพากษาหรือคำสั่ง ถึงที่สุดแล้ว
               -  ข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์
               -  ข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐบาล
               -  ข้อร้องเรียนที่หน่วยงานอื่นได้ดำเนินการตรวจสอบ พิจารณาวินิจฉัย
                   และได้มีข้อสรุปผลการพิจารณา เป็นที่เรียบร้อยไปแล้ว อย่างเช่น
                   สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
                   (ป.ป.ช.), สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต
                   ภาครัฐ (ป.ป.ท.), สำนักงานป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน
                   (ป.ป.ง.) เป็นต้น  นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว
                   ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาว่าจะรับไว้พิจารณา
                   หรือไม่เป็นเรื่องเฉพาะกรณี


การพิจารณาในการกำหนดชั้นความลับและคุ้มครองบุคคลที่เกี่ยวข้อง

          การพิจารณาในการกำหนดชั้นความลับและคุ้มครองบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น
          จะปฏิบัติตามระเบียบ " ว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ.2544 "