ของ :

นางอัญชลี  เชตะม

ครูวิทยฐานะ ชำนาญการ
โรงเรียนบ้านน้ำอ่าง
(สำนักงานสลากกินแบ่ง
สงเคราะห์ที่ 163)
อำเภอตรอน
สพป.อุตรดิตถ์ เขต 1

                                          บทคัดย่อ

      รายงานนี้มีวัตถุประสงค์ 

1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึก เรื่อง การอ่าน การเขียนสระและพยัญชนะ
ที่มีตัวสะกด  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ตามเกณฑ์มาตรฐาน  80/80 
2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง  การอ่านการเขียนสระ
และพยัญชนะที่มีตัวสะกด  โดยใช้แบบฝึก 
3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึก เรื่อง  การอ่านการเขียนสระและ
พยัญชนะที่มีตัวสะกด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 1  โรงเรียนบ้านน้ำอ่าง (สำนักงานสลากกินแบ่งสงเคราะห์ที่ 163)  อำเภอตรอน 
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุตรดิตถ์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 
ปีการศึกษา 2555  จำนวน  12  คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive 
Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบฝึกจำนวน 5 เล่ม ได้แก่ แบบฝึก
การอ่าน การเขียนสระและพยัญชนะที่มีตัวสะกด  เล่ม 1  สระอิ  สระอี  แบบฝึกการอ่าน
การเขียนสระ และพยัญชนะที่มีตัวสะกด เล่ม 2  สระอุ  สระอู   แบบฝึกการอ่านการเขียน
สระและพยัญชนะ ที่มีตัวสะกด เล่ม 3  สระเอ  สระแอ  แบบฝึกการอ่านการเขียนสระและ
พยัญชนะที่มีตัวสะกด เล่ม 4 สระโอ  สระไอ  สระใอ  และแบบฝึกการอ่านบทร้อยกรอง
เรื่องการอ่านการเขียนสระและพยัญชนะ ที่มีตัวสะกด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ชนิด
เลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ แบบประเมิน ความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึก
เรื่องการอ่านการเขียนสระและพยัญชนะที่มีตัวสะกด ประถมศึกษาปีที่ 1 รวบรวมข้อมูลโดย
การใช้แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และคะแนน จากแบบฝึก จำนวน 5 เล่ม  แบบประเมิน
ความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึก การวิเคราะห์ข้อมูล  โดยใช้สถิติพื้นฐาน  การหา
ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประเมินระดับคุณภาพ และการเปรียบเทียบความแตกต่างของ
คะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน โดยใช้ค่าสถิติที (t-test)

        ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

1.ประสิทธิภาพของแบบฝึกการอ่านการเขียนสระและพยัญชนะที่มีตัวสะกด มีประสิทธิภาพเท่ากับ
85.27/ 83.75 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ผลการศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง  การอ่านการเขียน
สระและพยัญชนะที่มีตัวสะกด  โดยใช้แบบฝึก พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่าคะแนนเฉลี่ย
ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึก เรื่อง  การอ่านการเขียนสระ และพยัญชนะ
ที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียน มีความพึงพอใจ
ค่าเฉลี่ย 4.94 ระดับความพึงพอใจมากที่สุด

  download  word  pdf